วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550




ประวัติบริษัท
บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด
ผู้ผลิต บรรจุภัณฑ์แก้วที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย
เป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่าง
- บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด
- บริษัท Saint – Gobain Oberland Glas AG
- กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ใช้บรรจุภัณฑ์แก้ว
- ผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ
บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อปี พ.ศ. 2517 ด้วยทุนจดทะเบียน 140 ล้านบาท โดยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ดำเนินการก่อสร้างโรงงานที่ จังหวัด ปทุมธานีแล้วเสร็จ และดำเนินการผลิตเมื่อต้นปี พ.ศ. 2523 ด้วยเตาหลอม 1 เตากำลังการผลิต 135 ตันต่อวัน หรือประมาณ 1 ล้านขวดต่อวัน บริษัทฯ ได้เจริญเติบโตและขยายกำลังการผลิตมาโดยตลอด จนปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 900 ล้านบาท มีโรงงาน 2 แห่งที่อำเภอธัญบุรี จังหวัด ปทุมธานี ( 5 เตา ) และที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ( 3 เตา ) ซึ่งในอนาคตจะมีโรงงานแห่งที่ 3 ที่จังหวัด ขอนแก่น ซึ่งจะเปิดดำเนินการได้ในต้นปี 2551
ปัจจุบัน บริษัทฯ มีกำลังการผลิตจากโรงงานทั้ง 2 แห่ง รวมกันถึง ประมาณ 2,230 ตัน ต่อวัน หรือประมาณ 8,000,000 - 12,000,000 ขวดต่อวัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์แก้ว ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ทำการคิดค้น และพัฒนา เทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วให้ทันสมัยมีประสิทธิภาพมากขึ้นมาโดยตลอด จนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าผู้ใช้บรรจุภัณฑ์แก้วจนก้าวมาเป็นผู้นำในการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้ว ในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชีย โดยยึดหลักว่า เราห่วงใยและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม


การผลิตแก้ว
ขบวนการผลิต
การผลิตขวดแก้วมีขบวนการผลิต โดยเครื่องจักรที่ทันสมัยและควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติการนำกลับเศษแก้วมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตทำให้บรรจุภัณฑ์แก้วได้รับการยอมรับว่า เป็นวัสดุที่ช่วยลดปัญหาสภาพแวดล้อมและยังสนับสนุนการจัดการด้านอนุรักษ์พลังงาน และทรัพยากร อีกด้วย
การผลิตขวดแก้วนั้น ต้องใช้วัตถุดิบหลายชนิด ได้แก่ ทราย โซดาแอช (สั่งจากต่างประเทศ) หินปูน หินฟันม้า โดโลไมต์ และส่วนประกอบอื่นๆ แล้วแต่ชนิดของขวดแก้ว แต่สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้คือ เศษแก้ว ซึ่งเป็น ขวดแก้วใช้แล้วนำมาบดให้มีขนาดที่ต้องการ ขวดแก้วทุกชนิดที่ไม่ใช้จึงสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำขวดใหม่ได้
เมื่อผสมส่วนผสมต่างๆ เข้ากันดีแล้วจะผ่านเข้าไปในเตาหลอม โซดาแอชจะช่วยให้อุณหภูมิหลอมเหลวต่ำลง และเศษแก้วที่ใส่เข้าไปด้วยก็จะช่วยประหยัดพลังงานในการหลอม
เมื่อหลอมเหลวเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว น้ำแก้วจะไหลลงเป็นเส้น แล้วถูกตัดเป็นก้อน เพื่อขึ้นรูปในแม่พิมพ์ด้วย การเป่า จากนั้นจะส่งผ่านไปยังตู้อบความร้อน เพื่อลดอุณหภูมิของขวดแก้ว อย่างช้าๆ

วัตถุดิบที่ใช้ ในการผลิตแก้ว
ทราย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “ซิลิกา” จะต้องมีปริมาณของ SiO2 อย่างน้อย 99.5% และมีปริมาณของ Fe2O3 น้อยกว่า 0.04%
โซดาแอช คือ Na2CO3 ในธรรมชาติอยู่ในรูปของ Na2CO3 , NaHCO3, 2H2O
หินปูน คือ CaO
หินฟันม้า เป็นสารที่ประกอบด้วย SiO2 และยังมีปริมาณ AI2O3 ถึงเกือบ 20%
หินโดโลไมต์ เป็นสารที่ประกอบด้วย CaO และ MgO
เศษแก้ว เป็นวัตถุดิบที่ช่วยประหยัดพลังงานในการหลอม
นอกจากนี้ยังมีวัตถุดิบอื่นๆ ซึ่งช่วยในการหลอม การปรับแต่งสีของขวดแก้ว รวมทั้งปรับแต่งคุณสมบัติด้วย

กรรมวิธีในการผลิต
นำวัตถุดิบทั้งหมดผสมเข้าด้วยกัน ปริมาณของวัตถุดิบแต่ละชนิดมีการแปรผันได้ในอัตราส่วนต่างๆ กัน เพื่อให้ได้ แก้วที่มีคุณสมบัติเด่นตามที่ต้องการ โดยทั่วไปทรายและโซดาแอชเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก้ว จากนั้น หลอมวัตถุทั้งหมดให้เป็นเนื้อเดียวกันในเตาหลอม ซึ่งมีอุณหภูมิถึง 1,500 ํc. แล้วนำไปขึ้นรูปเป็นขวดหรือภาชนะ แบบอื่นๆ ตามต้องการ

คุณสมบัติของขวดแก้ว
ขวดแก้วมีคุณสมบัติที่ดีเด่นหลายประการ คือ
1. มีความเป็นกลางและไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ กับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายใน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยสูง
2. มีความใส สามารถมองเห็นของที่บรรจุอยู่ภายในได้ ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริโภค
3. เมื่อเปิดแล้วสามารถปิดกลับเพื่อใช้ใหม่ได้
นอกจากนั้น ขวดแก้วยังสามารถใช้หมุนเวียนได้ มีความคงรูปเมื่อวางเรียงซ้อน จึงให้ความสะดวกในการขนส่ง มีความคงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพ ตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ ทนความร้อนได้สูงมาก และป้องกันการซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำได้
อย่างไรก็ตามขวดแก้วก็มีข้อเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีน้ำหนักมากและแตกง่าย ดังนั้นการปรับปรุง คุณภาพของขวดแก้วจึงมีความจำเป็น โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้แก้วที่มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นผิวบางลง และน้ำหนักเบากว่าเดิม ทั้งยังเป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย


บรรจุภัณฑ์แก้ว
บรรจุภัณฑ์แก้วสัดส่วนการผลิตร้อยละ 15 ขวดแก้วเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กันมานานและแพร่หลายมากในปัจจุบัน เนื่องจากขวดแก้วเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความใส สามารถมองเห็นสินค้าได้ ทนต่อกรด ด่าง และสารละลายได้ดี สามารถป้องกันและรักษาผลิตภัณฑ์ที่บรรจุไว้ได้และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่มีข้อเสียคือ แตกหักง่าย ต้นทุนการผลิตสูง ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่นำมาบรรจุมักเป็นสินค้าที่มีราคาสูง หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดปฏิกิริยาทางเคมีได้ง่าย วัตถุดิบหลักที่นำมาใช้ในการผลิต คือทราบแก้ว โซดาแอช หินปูน เศษแก้ว อลูมินา ไนเตรด และซีลีเนียม เป็นต้น
บรรจุภัณฑ์แก้วมีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 15 ขวดแก้วเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กันมานานและแพร่หลายมากในปัจจุบัน เนื่องจากขวดแก้วเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความใส สามารถมองเห็นสินค้าได้ ทนต่อกรด ด่าง และสารละลายได้ดี สามารถป้องกันและรักษาผลิตภัณฑ์ที่บรรจุไว้ได้ และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่มีข้อเสียคือ แตกหักง่าย ต้นทุนการผลิตสูง ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่นำมาบรรจุมักเป็นสินค้าที่มีราคาสูง หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดปฏิกิริยาทางเคมีได้ง่าย วัตถุดิบหลักที่นำมาใช้ในการผลิต คือ ทรายแก้ว โซดาแอช หินปูน เศษแก้ว อลูมินา ไนเตรด และซีลีเนียม เป็นต้น
โรงงานที่ทำการผลิตขวดแก้วมักเป็นโรงงานที่มีขนาดใหญ่และมีกำลังการผลิตมาก ใช้เงินลงทุนสูง เช่น บริษัทอุตสาหกรรมเครื่องแก้วไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทบางกอกกลาส จำกัด บริษัทสยามกลาส จำกัด องค์การแก้วบางนา และบริษัทยูเนียนกลาส จำกัด ทั้งหมดนี้มีกำลังการผลิตประมาณ 1,270,000 ตันผลิตภัณฑ์/ปี แต่ละโรงงานได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยเฉพาะการปรับปรุงเตาหลอมให้ทันสมัยและมีกำลังการหลอมแก้วได้มากขึ้น ขณะเดียวกันปริมาณการใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงก็ลดจากเตาหลอมสมัยก่อน ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้สิ่งที่มีการปรับปรุงมากที่สุดในแต่ละโรงงานคือ การนำเอาเศษแก้วกลับมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต (Recycle) มากขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยลดพลังงานในการหลอมวัตถุดิบลงได้ประมาณร้อยละ 20–30 ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้อีกทางหนึ่ง ในขณะที่คุณภาพการผลิตยังคงสภาพเดิม
การผลิตในปัจจุบันเป็นการผลิตตามคำสั่งของลูกค้า โดยลูกค้าจะสั่งซื้อล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน ในช่วงที่เศรษฐกิจดีจะมีการสั่งซื้อข้ามปี ลูกค้าส่วนใหญ่จะอยู่ในอุตสาหกรรมประเภทเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเครื่องดื่มชูกำลังจะใช้ขวดแก้วในการบรรจุทั้งหมด ขณะที่เครื่องดื่มประเภทอื่นหันไปใช้ขวดประเภทอื่นทดแทนขวดแก้วมากขึ้น ดังนั้น การแข่งขันกันในระหว่างผู้ผลิตขวดแก้วจึงมีน้อย ส่วนมากเป็นการแข่งขันด้านราคา ด้านการส่งมอบที่ตรงเวลา และความสามารถที่จะผลิตตอบสนองให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า แต่การแข่งขันกับบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นที่ใช้ทดแทนขวดแก้วมีค่อนข้างมาก โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์โลหะ เช่น กระป๋องโลหะและบรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น ขวด PET (Polyethylene Terephthalate) ที่ใช้กับสินค้าน้ำมันพืช น้ำดื่มและน้ำอัดลม ซึ่งเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดปีละประมาณร้อยละ 15 ของบรรจุภัณฑ์แก้ว เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและมีความทนทาน สำหรับการแข่งขันกับขวดแก้วนำเข้ามีน้อย เนื่องจากราคาขวดแก้วนำเข้าสูงกว่ามาก เพราะมีคุณภาพต่างกันและต้องใช้ความระมัดระวังในการขนส่งสูง
ปัจจุบันการใช้ขวดแก้วในอุตสาหกรรมเบียร์และสุรามีสัดส่วนร้อยละ 30 อุตสาหกรรมเครื่องดื่มชูกำลังร้อยละ 27 น้ำอัดลม ร้อยละ 10 อุตสาหกรรมอาหารและยา ร้อยละ 11 เครื่องดื่มเกลือแร่ร้อยละ 9 และอุตสาหกรรมอื่นๆ ร้อยละ 13 ในอนาคตคาดว่าความต้องการใช้ขวดแก้วยังมีอยู่สูง โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 – 12 ต่อปี
แนวโน้มการผลิตขวดแก้ว จะผลิตเพื่อจำหน่ายแก่ผู้ใช้ภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าการผลิตขวดแก้วยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราประมาณร้อยละ 10 ต่อปี โดยเติบโตควบคู่ไปกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมน้ำอัดลม เบียร์ สุรา และเครื่องสำอาง ประกอบกับการตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้บริโภคหันมานิยมใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นขวดแก้วมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: